ภาษิตอิศรญาณ
สุภาษิตอิศรญาณ
ผู้เข้าชมรวม
1,517
ผู้เข้าชมเดือนนี้
3
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
เทศนาคำไทยให้เป็นทาน | โดยตำนานศุภอรรถสวัสดี |
สำหรับคนเจือจิตจริตเขลา | ด้วยมัวเมาโมห์มากในซากผี |
ต้องหาม้ามโนมัยใหญ่ยาวรี | สำหรับขี่เป็นม้าอาชาไนย |
น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าอัชฌาสัย | |
เราก็จิตคิดดูเล่าเขาก็ใจ | รักกันไว้ดีกว่าชังระวังการ |
ผู้ใดดีดีต่ออย่าก่อกิจ | ผู้ใดผิดผ่อนพักอย่าหักหาญ |
สิบดีก็ไม่ถึงกับกึ่งพาล | เป็นชายชาญอย่าเพ่อคาดประมาทชาย |
รักยาวนั้นอย่าให้เยิ่นเกินกฎหมาย | |
มิใช่ตายแต่เขาเราก็ตาย | แหงนดูฟ้าอย่าให้อายแก่เทวดา |
น้ำตาลย้อยมากเมื่อไรได้หนักหนา | |
อย่านอนเปล่าเอากระจกยกออกมา | ส่องดูหน้าเสียทีหนึ่งแล้วจึงนอน |
พิเคราะห์ดูควรทึ้งแล้วจึงถอน | |
เห็นเต็มตาแล้วอย่าอยากทำปากบอน | ตรองเสียก่อนจึงค่อยทำกรรมทั้งมวล |
ใจความว่าผู้มีคุณอย่าหุนหวน | |
เอาหลังตากแดดเป็นนิจคิดคำนวณ | รู้ถี่ถ้วนจึงสบายเมื่อปลายมือ |
ส่งให้ลิงจะรู้ค่าราคาหรือ | |
ต่อผู้ดีมีปัญญาจึงหารือ | ให้เขาลือเสียว่าชายนี้ขายเพชร |
ใครเลยเล่าจะไม่งามตามเสด็จ | |
จำไว้ทุกสิ่งจริงหรือเท็จ | พริกไทยเม็ดนิดเดียวเคี้ยวยังร้อน |
ใจของเราไม่สอนใจใครจะสอน | |
อยากใช้เขาเราต้องก้มประนมกร | ใครเลยห่อนจะว่าตัวเป็นวัวมอ |
คนโหยกเหยกรักษายากลำบากหนอ | |
อันยศศักดิ์มิใช่เหล้าเมาแต่พอ | ถ้าเขายอเหมือนอย่างเกาให้เราคัน |
เป็นไรเขาไม่จับผิดคิดดูขัน | |
ผีมันหลอกช่างผีตามทีมัน | คนเหมือนกันหลอกกันเองกลัวเกรงนัก |
จะเรียนคมเรียนเถิดอย่าเปิดฝัก | |
คนสามขามีปัญญาหาไว้ทัก | ที่ไหนหลักแหลมคำจงจำเอา |
ไปพูดขัดเขาทำไมขัดใจเขา | |
ใครทำตึงแล้วหย่อนผ่อนลงเอา | นักเลงเก่าเขาไม่หาญราญนักเลง |
ชายมักยั่วทำเลียบเทียบข่มเหง | |
ไฟไหม้ยังไม่เหมือนคนที่จนเอง | ทำอวดเก่งกับขื่อคาว่ากระไร |
อันเสาหินแปดศอกตอกเป็นหลัก | ไปมาผลักบ่อยเข้าเสายังไหว |
จงฟังหูไว้หูคอยดูไป | เชื่อน้ำใจดีกว่าอย่าเชื่อยุ |
มันชอบใจข้างปลอบไม่ชอบดุ | |
ที่ห่างปิดที่ชิดไชให้ทะลุ | คนจักษุเหล่หลิ่วไพล่พลิ้วพลิก |
บนบกหนออุตส่าห์เสือกกระเดือกกระดิก | |
เขาย่อมว่าฆ่าควายเสียดายพริก | รักหยอกหยิกยั บทั้งตัวอย่ากลัวเล็บ |
แต่หนามตำเข้าสักนิดกรีดยังเจ็บ | |
อันโลภลาภบาปหนาตัณหาเย็บ | เมียรู้เก็บผัวรู้ทำพาจำเริญ |
เต็มที่ครู่เดียวเท่านั้นเขาสรรเสริญ | |
ไม่ควรกล้ำเกินหน้าก็อย่าเกิน | อย่าเพลิดเพลินคนชังนักคนรักน้อย |
ถึงมีปากเสียเปล่าเหมือนเต่าหอย | |
ผีเรือนตัวไม่ดีผีป่าพลอย | พูดพล่อยพล่อยไม่ดีปากขี้ริ้ว |
สีแหยะแหยะตอกตะบันเป็นควันฉิว | |
ช้างถีบอย่าว่าเล่นกระเด็นปลิว | แรงหรือหิวชั่งใจดูจะสู้ช้าง |
แต่ว่าอย่ายักเยื้องเข้าเบื้องหาง | |
ต้องว่องไวในทำนองคล่องท่าทาง | ตบหัวผางเดียวม้วนจึงควรล้อ |
ถ้าแม้ให้เสียทุกคนกลัวคนขอ | |
พ่อแม่เลี้ยงปิดปกเป็นกกกอ | จบแล้วหนอเหมือนเปรตเหตุด้วยจน |
ต้องอาศัยคิดดีจึงมีผล | |
บุญหาไม่แล้วอย่าหลงทะนงตน | ปุถุชนรักกับชังไม่ยั่งยืน |
อันคลื่นใหญ่ในมหาชลาสินธุ์ | เข้าฝั่งสิ้นสาดเข้าไปที่ในฝั่ง |
เสียงกลองดังฟังดูเพียงหูฟัง | ปากคนดังอึงจริงยิ่งกว่ากลอง |
ถ้าทำดีก็จะดีเป็นศรีศักดิ์ | ถ้าทำชั่วชั่วจักตามสนอง |
ความชั่วเราลี้ลับอย่ากลับตรอง | นอนแล้วมองดูผิดในกิจการ |
อันความเรื่องเดียวกันสำคัญกล่าว | พูดไม่ดีแล้วก็เปล่าไม่แข็งเข้ม |
ข้าวต้มร้อนอย่ากระโจมค่อยโลมเล็ม | วิสัยเข็มเล่มน้อยร้อยช้าช้า |
ถึงโปร่งปรุในอุบายเป็นชายชาติ | แม้หลงมาตุคามขาดศาสนา |
อันความหลงแม้ไต่ปลงสังขารา | แต่ทว่ารู้บ้างค่อยบางเบา |
อย่าโอกโขยกอยู่ในโลกสันนิวาส | แต่นักปราชญ์ยังรู้พึ่งผู้เขลา |
เหมือนเรือช่วงพ่วงลำในสำเภา | เรือใหญ่เข้าไม่ได้ใช้เรือเล็ก |
หลงโลภลาภบาปก็รู้อยู่ว่าบาป | กิเลสหยาบยังไม่สุขย่อมทุกขัง |
ตัณหาหากชักนำให้กำบัง | เอาธรรมตั้งข่มกดให้ปลดร้อน |
คนศรัทธาว่าง่ายสบายจิต | ไม่เบือนบิดเร่งทำตามคำสอน |
คนที่ไม่ศรัทธาอุราคลอน | โง่แล้วงอนถึงไม่ฟังก็ยังดึง |
หาเงินติดไถ้ไว้อย่าให้ขาด | ตำลึงบาทหาไม่คล่องเพียงสองสลึง |
ชาติตะปูชาติแข็งต้องแทงตรึง | ชาติขี้ผึ้งชาติอ่อนร้อนละลาย |
ของสิ่งใดสงสัยให้พิสูจน์ | ไม่แกล้งพูดธาตุทั้งสี่ดีใจหาย |
ดูดินน้ำลมไฟให้แยบคาย | ไล่ระบายเท็จก็แปรแท้ไม่จร |
คุณกับโทษสองแบ่งแรงข้างไหน | คุณถึงใหญ่ให้ผลคนไม่เห็น |
โทษสักเท่าหัวเหาเล็กเท่าเล็น | ให้ผลเห็นแผ่ซ่านทั่วบ้านเมือง |
น้ำใจเอยเห็นกรรมไม่ทำชั่ว | บวชตั้งตัวตั้งใจบวชได้เรื่อง |
บวชหลบราชการหนักบวชยักเยื้อง | บวชหาเฟื้องหาไพบวชไม่ตรง |
สัตว์ผอมฤษีพีนี้สองสิ่ง | สามผู้หญิงรูปดีไม่มีถัน |
กับคนจนแต่งอินทรีย์นี้อีกอัน | สี่ด้วยกันดูเป็นเห็นไม่งาม |
บรรพชาสามปางนางสามผัว | ข้าเก่าชั่วเมียชังเขายังห้าม |
มักเกิดเงี่ยงเกี่ยงแง่แส่หาความ | กาลีลามหยาบช้าอุลามก |
ถือตำรามากนักขี้มักกรอบ | มิเสียชอบขัดสนจนจอนจ่อ |
ออกชื่อบาปครางฮือทำมืองอ | ไม่นึกฉ้อส่อเสียดเบียดเบียนใคร |
จิตดำรงคงธรรมไม่พล้ำเพลี่ยง | สู้หลีกเลี่ยงตามภาษาอัชฌาสัย |
ถึงบอกลาภบาปแล้วไม่พอใจ | มีหาไม่อุตส่าห์รักษากาย |
พระพุทธองค์ก็ทรงชมว่าสมปราชญ์ | บัณฑิตชาติเมธาปัญญาหลาย |
สู่คติเบื้องหน้าถ้าเขาตาย | ทางอบายห่างไกลไม่ไปเลย |
กระแสพุทธฎีกาว่ากระนี้ | เดี๋ยวนี้นี่ไม่กระนั้นนะท่านเอ๋ย |
ถ้ายากจนแล้วก็คนมักยิ้มเย้ย | ภิปรายเปรยเปรียบเทียบพูดเสียบแทง |
ว่าชะชะนักปราชญ์ชาติสถุล | วิบากบุญให้ผลจนต่องแต่ง |
สวรรค์นรกที่ไหนไม่แจ้งแจง | อยู่เขตแขวงธานีบุรีใด |
อย่าคบมิตรจิตพาลสันดานชั่ว | จะพาตัวให้เสื่อมที่เลื่อมใส |
คบนักปราชญ์นั่นแหละดีมีกำไร | ท่านย่อมให้ความสบายหลายประตู |
ชั่วแต่กายวาจาย่อมปรากฏ | คนทั้งหมดแม่นแท้เขาแลเห็น |
ชั่วในใจบังปิดไว้มิดเม้น | สิบห้าเล่มเกวียนเข็นไม่หมดมวล |
คดสิ่งอื่นหมื่นแสนแม้นกำหนด | โกฏล้านคดซ้อนซับพอนับถ้วน |
คดของคนล้นล้ำคดน้ำนวล | เหลือกระบวนที่จะจับนับคดค้อม |
จะผ่าไม้ให้พินิจพิศดูท่า | ให้เห็นว่าแสกไหนเหมาะจึงเจาะขวาน |
จะเข้าหาคนผู้ดูอาการ | ถือโบราณถูกเดาจึงเอาคำ |
คนแก่มีสี่ประการโบราณว่า | แก่ธรรมาพิสมัยใจแห้งเหี่ยว |
แก่ยศแก่วาสนาปัญญาเปรียว | แต่แก่แดดอย่างเดียวแก่เกเร |
ความรู้ท่วมหัวตัวไม่รอด | เป็นคำสอดของคนเกเรเกเส |
เรียนวิชาไม่แม่นยำคะน้ำคะเน | ไปเที่ยวเตร่ประกอบชั่วตัวจึงจน |
ทะเลน้อยเท่ารอยโคโผไม่ได้ | โดยว่าใจยังกำหนัดขัดมรรคผล |
หญิงขมิ้นชายปูนประมูลปน | ไหนจะพ้นทะเลแดงตำแหน่งเนื้อ |
อีกข้อหนึ่งเมืองเราชาวมนุษย์ | ย่อมว่าพุทธกับไสยตั้งใจว่า |
ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันไปมา | ทั้งเจรจารำคาญหูดูไม่งาม |
พุทธแปลว่าพระเจ้าท่านกล่าวแก้ | ไสยนั้นแปลว่าผีนี้ได้ถาม |
ผิดหรือถูกไม่ตรึกตราเจรจาตาม | มีเนื้อความในคัมภีร์บาลีใด |
ถ้าพุทธองค์ไปอาศัยผี | ผีไปพึ่งบารมีที่ตรงไหน |
ถ้อยทีถ้อยพึ่งกันนั้นอย่างไร | ครั้นว่าไล่เข้าก็ซัดลัทธิแรง |
เป็นวาจากรรมเปล่าไม่เข้าข้อ | รู้แล้วก็นิ่งไว้อย่าได้แถลง |
แม้พลั้งปากเสียศีลพลาดตีนแพลง | มักระแวงข้างเป็นโทษประโยชน์น้อย |
จะคบมิตรสนิทนักมักเป็นโทษ | เกิดขึ้งโกรธต่างต่างเพราะวางจิต |
ทันระวังตัวที่ไหนไม่ทันคิด | เหตุสักนิดแล้วก็ได้ขัดใจกัน |
ผมยาวยุ่งทิ้งไว้ไม่สางหวี | สิ้นที่พึ่งแล้วจึงมีคนข่มเหง |
อาวุธปากกล่าวดีมีคนเกรง | ยิงให้เป้งเดียวถูกทุกทุกคำ |
ดูตระกูลกิริยาดูอากัป | ดูทิศจับเอาที่ผลต้นพฤกษา |
ดูฉลาดเล่าก็เห็นที่เจรจา | ดูคงคาก็พึงหมายสายอุบล |
นกกระจาบเดิมหนักหนามากกว่าแสน | ไม่เดือดแค้นสามัคคีย่อมมีผล |
ครั้นภายหลังอวดกำลังต่างถือตน | พรานก็ขนกระหน่ำมาพากันตาย |
คืนและวันพลันดับก็ลับล่วง | ท่านทั้งปวงจงอุตสาห์หากุศล |
พลันชีวิตคิดถึงรำพึงตน | อายุคนนั้นไม่ยืนถึงหมื่นปี |
อันความมรณาถ้วนหน้าสัตว์ | แต่พระตรัสเป็นองค์พระชินศรี |
แสนประเสริฐเลิศภพจบธาตรี | ยังจรลีเข้าสู่นิพพานเอย ฯ |
ผลงานอื่นๆ ของ ....MoMaE.... ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ ....MoMaE....
ความคิดเห็น